306/74 หมู่ที่ 12 ถนนทัพพระยา
เมืองพัทยา ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150
HOTLINE
038250419
OFFICE HOURS
จันทร์ - เสาร์ : 08.00 - 18.00 น.

ภาษี e-Service

ภาษี e-Service คืออะไร ซื้อสินค้า-ใช้บริการแบบไหน ต้องจ่ายภาษีบ้าง ?

ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป การจัดเก็บภาษี e-Service จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการออนไลน์จากแพลตฟอร์มต่างประเทศต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ให้กรมสรรพากร แน่นอนว่าคำถามที่คนอยากรู้มากที่สุดก็คือ ภาษี e-Service คืออะไร แล้วการซื้อของ ขายของออนไลน์ ยิงโฆษณา Google, Facebook ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันต่าง ๆ จะได้รับผลกระทบด้วยหรือไม่ วันนี้ลองมาทำความเข้าใจกับภาษี e-Service ให้ชัดเจนกันสักครั้ง

ภาษี e-Service คืออะไร

ภาษี e-Service คือ การเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กับผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (e-Service) และอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มต่าง ๆ โดยถ้ามียอดขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องนำส่ง VAT ให้กรมสรรพากร ซึ่งปัจจุบันคิดอัตรา 7% ของราคาค่าบริการ

พูดง่าย ๆ ก็คือ แพลตฟอร์มออนไลน์จากต่างประเทศที่ให้บริการในไทย เช่น Facebook, Google, Line, Microsoft, Apple, TikTok ฯลฯ หากมีรายได้เกิน 1.8 ล้านต่อปี จะต้องไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมชำระภาษีเป็นรายเดือน ภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป 

ทำไมถึงต้องจัดเก็บภาษี e-Service 

เหตุผลหลัก ๆ คือเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการไทย กับผู้ประกอบการจากต่างประเทศนั่นเอง เพราะโดยปกติแล้วเมื่อทำธุรกิจ ผู้ประกอบการไทยต้องยื่นภาษี ชำระ VAT 7% ให้กรมสรรพากรมาโดยตลอด แต่ผู้ประกอบการจากต่างประเทศที่มีรายได้ในประเทศไทยกลับไม่ต้องเสียภาษี VAT เลย เนื่องจากกฎหมายเดิมไม่ได้ครอบคลุมถึง

ดังนั้น กฎหมาย e-Service จึงออกมาช่วยปิดช่องโหว่ตรงนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการต่างชาติต้องจดทะเบียนและเสียภาษีเช่นเดียวกับผู้ประกอบการไทย ซึ่งกรมสรรพากรก็คาดว่าจะสามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้เพิ่มขึ้นปีละ 5,000 ล้านบาท

และไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้นที่มีการจัดเก็บภาษี e-Service แต่กว่า 60 ประเทศ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน ฯลฯ ก็ได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มต่างประเทศจดทะเบียนและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่หน่วยงานจัดเก็บภาษีของประเทศนั้น ๆ

ภาษี e-Service ในไทยเริ่มใช้เมื่อไร

ประเทศไทยได้ประกาศ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ. 2564 หรือ พ.ร.บ. e-Service เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป

ธุรกิจไหนต้องจดภาษี e-Service ในไทยบ้าง

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรงคือแพลตฟอร์มของบริษัทต่างประเทศที่ให้บริการทางออนไลน์ในประเทศไทย แบ่งเป็น 5 กลุ่มหลัก คือ

โดยทั้ง 5 กลุ่มธุรกิจนี้ หากมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี และยังไม่ได้จดทะเบียน VAT จะต้องมาจดทะเบียนและดำเนินการทางภาษีผ่านระบบงานภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (VAT for Electronic Service : VES) บนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร

ถ้าต้องการทราบว่าผู้ประกอบการรายไหนจดทะเบียน VAT ในไทยแล้วบ้าง สามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่นี่เลย eservice.rd.go.th

ซื้อของออนไลน์-ผู้ใช้บริการแพลตฟอร์ม ต้องจ่ายภาษีเพิ่มไหม

เรื่องนี้แบ่งเป็น 2 กรณี คือ

อย่างไรก็ตาม ตรงนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้ประกอบการต่างประเทศด้วยว่าจะบวก VAT 7% เพิ่มจากค่าสินค้าและบริการหรือไม่ หรือจะดำเนินการอย่างไรกับต้นทุนที่เพิ่มมาส่วนนี้ เพราะถ้ามีผู้ให้บริการรายหนึ่งตัดสินใจชาร์จ VAT จากลูกค้า ในขณะที่คู่แข่งยังตรึงราคาเดิม ผู้ให้บริการที่ปรับราคาขึ้นก็อาจเสียลูกค้าไปได้เหมือนกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก money.kapook.com